เมนู

อรรถกถาสารีปุตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
มรรค 3 เบื้องต่ำ ของพระธรรมเสนาบดีเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา
ทนฺธาภิญฺญา
(ปฏิบัติง่าย รู้ช้า) อรหัตมรรคเป็น สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
(ปฏิบัติง่าย รู้เร็ว) เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระ
จึงกล่าวว่า ยายํ ปฏิปทา สุขา ขิปฺปาภิญฺญา ดังนี้ เป็นอาทิ. ก็ในสองสูตร
เหล่านี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวปฏิปทาคละกัน .
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ 8

9. สสังขารสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[169] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
4 จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นสสังขรปรินิพพายีในภพปัจจุบัน 1
บุคคลบางคนเป็นสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป 1 บุคคลบางคนเป็นอสัง-
ขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน 1 บุคคลบางคนเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกาย
แตกไป 1
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้พิจารณาเป็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลใน
อาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความ

ไม่เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายใน
ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ 5 นี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่
อินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอแก่กล้า เพราะ
อินทรีย์ 5 นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันนี้เอง
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพานยีในภพปัจจุบัน
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลใน
อาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินยินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายใน
ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ 5 นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่
แต่อินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะ
อินทรีย์ 5 นี้อ่อน เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล
บุคคเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ
ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัย
เสขพละ 5 นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ ทั้งอินทรีย์
5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์
5 นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน อย่างนี้แล บุคคล
เป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ
ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัย

เสขพละ 5 นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ แต่อินทรีย์
5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ 5
นี้อ่อน เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล บุคคล
เป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล 4 จำพวกมีอยู่ในโลก.
จบสสังขารสูตรที่ 9

อรรถกถาสสังขารสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสสังขารสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลที่ 1 ที่ 2 เป็นสุกขวิปัสสก ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วย
ความเพียรเรี่ยวแรง. ในบุคคลเหล่านั้น คนหนึ่ง ย่อมปรินิพพานด้วยกิเลส
ปรินิพพานในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์คือวิปัสสนามีกำลัง คนหนึ่งปรินิพาน
ไม่ได้ในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้นเท่านั้นใน
อัตภาพลำดับไป ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วยความเพียรเรี่ยวแรงแล้วจึง
ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน บุคคลที่ 3 ที่ 4 เป็นสมถยานิก (สมถะนำไป).
บรรดาบุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่า คนหนึ่งทำกิเลสให้สิ้นไปในอัตภาพนี้
เพราะอินทรีย์มีกำลังด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง คนหนึ่งทำกิเลสให้
สิ้นไปไม่ได้อัตภาพในโลกนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้น
เท่านั้น ในอัตภาพลำดับไปทำกิเลสให้สิ้นไปด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
ดังนี้.
จบอรรถกถาสสังขารสูตรที่ 9